ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สายเอ็น ปะทะ PE



             วันนี้ผมขอร่วมแบ่งปัน ประสบการณ์การศึกษาและบทความดีๆที่ผมได้ไปเจอมา ในการเลือกใช้สายตกปลา สำหรับมือปลาบ่ออย่างผมหน่อยนะครับ ( อยากร่วมแบ่งปัน สำหรับน้าๆที่ยังไม่ทราบนะครับ ท่านที่ทราบแล้ว ข้ามกระทู้นี้ไปได้เลยครับ )

เดี่ยวนี้เวลาเดินเข้าบ่อตกปลาทีไร ผมก็จะเจอทั้งนักตกปลาท่านอื่นๆ ที่ใช้สายเอ็น สีสันสดใส หรือ สีเรียบๆก็มี มีทั้งแบบเป็นสาย PE หรือ สายDyneema เส้นโตๆก็เจอบ่อย .... หลายคนๆคงเคยคิดเหมือนผมใช่มั๊ยครับ ... ว่าตกลงสายแต่ละแบบที่หลายๆคนใช้ ต่างกันอย่างไร  วันนี้ผมขอสรุปจากประสบการณ์ในการเลือกใช้สายตกปลาของผมกันอย่างคราวๆนะครับ

สายที่ใช้ในวงการกีฬาตกปลา  บ้านเรามี2 แบบครับ  ( เอาเฉพาะสายที่ใช้กรอใส่รอกก่อนนะครับ )
แบบที่ 1 คือ แบบที่เป็นลักษณะเนื้อเอ็น จะเป็นเอ็นสี หรือ เอ็นเนื้อใสๆ ก็มีอีก 2ประเทภครับ คือเอ็นแบบเต็ม หรือเอ็นแบบดโหลด
แบบที่ 2 คือ สายที่มีลักษณะเป็นเนื้อผ้าถัก หรือ ที่เราหลายๆคนคุ้นหูกัน ก็คือ สายPE หรือ สายไดนีม่า นั้นเองครับ  

สายตกปลาแบบที่ 1 สายเอ็น ถ้าแบ่งตามกระบวนการผลิต จะแบ่งย่อยได้เป็น
 
    สายเอ็นแบบสายเอ็นเนื้อเต็ม
         ที่มักเรียกกันว่า สายเอ็นเต็ม ก็เพราะ การผลิตสายเอ็นนั้น จะมีมาตรฐานหน้าตัด ซึ่งจะเป็นตารางเรียบเทียบ ขนาดหน้าตัดสายเอ็น ต่อแรงดึง หรือ แรงที่สายจะรับน้ำหนักได้แบบมาตราฐาน และ กำหนดมาตราฐานว่า สายหน้าตัดขนาดนี้เป็นเส้นเอ็นขนาดกี่ปอนด์
   
ขนาดหน้าตัดของสายเอ็นเปรียบเทียบเอ็นเต็มปอนด์มาตรฐาน
หน้าตัด(mm.)         แรงดึงที่เอ็นรับได้(LB)          
   0.20                            4
   0.26                            6                        
   0.28                            8                        
   0.30                           10                      
   0.35                           12                      
   0.40                           15                      
   0.45                           20                      
   0.50                           25                      
   0.55                           30                      
   0.60                           35                        
   0.65                           40                      
   0.70                           45                       
   0.75                           50
   0.80                           55
   0.85                           60
   0.90                           65
   0.95                           70                      

   ตารางเปรียบเทียบขนาดหน้าตัดนี้ สามารถใช้วัด สายขนาดของสายเอ็น โหลด หรือ สายPE , Dyneema ก็ได้ หากสายที่เราซื้อมา ไม่ได้ระบุขนาดสายที่โหลด หรือ ขนาดสายผ้าที่มักจะบอกเป็น PE2 เพื่อจะนำมาคำนวณขนาดความจุของสาย กับสปูนรอกของเราได้ง่ายๆ
  
     อย่าลืมว่า ขนาดหน้าตัด เป็นตัวกำหนดความจุของสาย 1 สปูนในรอกของเรา ยกตัวอย่างเช่น หากสปูนรอกเรากำหนดว่า จุสายหน้าตัด 0.40 ได้ 100 m. ก็เท่ากับว่า เราจะจุสาย 15 ปอนด์ ได้ 100 เมตร แต่เราดันไปเลือกวายขนาด 0.45 หรือ เอ็น20ปอนด์ มาใส่แทน เราก็อาจจะได้ความยาวของสายเอ็น ใน1 สปูนน้อยลง อาจจะเหลือแค่เพียง 70-80 เมตรเท่านั้น  ดังนั้น หากเราเลือกสายที่มีหน้าตัดใหญ่ แต่รอกของเรามีขนาดสปูนเล็ก จะทำให้เราจุสายได้น้อย สงผลให้เวลาเราตกปลาและ ปลาลากสายวิ่งไปไกล อาจดึงจนสายหมดสปูนได้ง่ายๆ อันนี้ต้องระวังให้ดีๆนะครับ!!! 
เมื่อเราทราบขนาดหน้าตัดของสายแล้ว เราก็มาดู ข้อดี ข้อเสีย ของสายเอ็นประเภทนี้กันอย่างคราวๆดีกว่าครับ

ราคา: สายเอ็นแบบหน้าตัดเต็ม เท่าที่ผมรู้ว่ามีขายในประเทศไทย มีอยู่ไม่กี่ญี่ห้อ ตกราคาหลอดละประมาณ 340-400 บาทครับ
ข้อดีคือ : สายเอ็นแบบหน้าตัดเต็ม มีข้อดีตรงที่ เป็นสายที่มีขนาดตามมาตราฐาน และ ผ่านกระบวนการผลิตสายให้ออกมามีขนาดเท่ากับเอ็นที่กำหนดภายในครั้งเดียว ไม่มีการยืดสายออกให้มีขนาดเส้นเอ็นเล็กลงเหมือนเอ็นแบบสายโหลด จึงทำให้ สายเอ็นแบบแต็มปอนด์
   - มีความทนทาน  ทนแรงเสียดสีได้ดีกว่าแบบเอ็นโหลด
   - ยังสามารถยืดตัวได้อีก ในกรณ๊ที่โดนปลาใหญ่ดึงสายเกินขนาดที่มาตรฐานกำหนก สายเอ็นแบบเต็มยังคงสามารถยืดตัวได้อีกนิดหน่อย ทำให้ในบางครั้งเราสามารถสู้ปลาใหญ่ได้อย่างอุ่นใจกว่า
    - เนื้อเอ็นแบบเต็ม ไม่ค่อยเกิดอาการสายหงิง งอ เป็นผ่อยเล็กๆ เหมือนเส้นมาม่า เวลาโดนกระชากแรงๆ เหมือนสายเอ็นโหลดบางญี่ห้อ
     -  สายเอ็นแบบเต็ม  มีอายุการใช้งานได้นานกว่า สายเอ็นแบบโหลด ส่วนใหญ่มักใช้กันประมาณ 6เดือน-1ปี ในกรณีที่ใช้งานปกติ แบบตกปลาตามบ่อ แต่หากใช้งานทะเล อาจทำให้อายุการใช้งานของสายเอ็นสั้นลง ได้
                               
ข้อเสีย : สายเอ็นแบบหน้าตัดเต็ม  มักมีขนาดเส้นเอ็นที่ใหญ่ ทำให้จุสายได้น้อย
      - เนื้อสาย มักมีความแข็งกระด้าง ดังนั้นจึงมักมีปัญหา สายพองขึ้นมาจากสปูน วิธีแก้ไขคือ กรอสายเอ็นสำหรับ รอกเบท และ สปิน อย่าให้เต็มสปูน ให้กรอเอ็นใส่ประมาณ 3/4 ส่วนของสปุนก็พอ เนื่องจากเมื่อเราตีสายออกไป สายจะพองตัวขึ้นอีกเล็กน้อย และเวลาเราเก็บสายจะไม่แน่นเหมือนเวลาที่ใช้เครื่องกรอสายเอ็นเข้ารอก ดึงนั้นเมื่อเรากรอสายเก็บเข้ามาจึงส่งผลให้สายสปริงตัวขึ้น

       ดังนั้น นักตกปลาจึงมักเลือกใช้สายเอ็นแบบหน้าตัดเต็ม กับรอกขนาดกลาง-ใหญ่ เพื่อจุสายได้พอกับที่จะต้องใช้งาน และ เพราะความทนทานที่มากกว่าสายเอ็นแบบโหลด จึงทำให้มือปลาบึกทั้งหลายยังคงยึดติด และ ยอมมองข้ามอาการสายพองตัวหรือ จุดด้อยของสายเอ็นประเภทหน้าตัดเต็มนี้ไปได้




สายเอ็นแบบสายเอ็นเนื้อโหลด
       เอ็นโหลดที่หลายๆท่านชื่นชอบ นั้นแท้ที่จริงก็คือเนื้อเอ็นหน้าตัดเต็มอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น แต่ได้ผ่านกระบวนการดึงให้เส้นเอ็นหน้าตัดเต็มมาตราฐาน ให้ยืดออกทำให้เส้นเอ็นมีขนาดที่เล็กลง และ นุ่มมากยยิ่งขึ้น เพื่อให้การใช้งานได้นุ่มเนียน และ ทำให้จุสายเอ็นได้เยอะยิ่งขึ้น เหมาะมากสำหรับงานตกปลาขนาดกลาง หรือ เล็ก ที่ต้องการสายเอ็นขนาดเล็กดึงเนียนๆ แบบงานสปิ๋ว หรือ งานตกปลาเกล็ด และ ปลาสวาย

         แต่ถึงจะเรียกว่า เอ็นโหลด แต่ในปัจจุบัน ก็มีการผลิตสายเอ็นแบบโหลด ขนาดเส้นใหญ่แบบ 70ปอนด์ โหลดขนาดเส้นให้เล็กเหลือแค่ 50 ปอนด์ก็มี ข้อดึ ก็คือ จุสายได้เยอะขึ้นมากกกก และ ทำให้ตีสายได้ง่ายขึ้น เพราะเนื้อเอ็นไม่ค่อยกระด้างมากเหมือนเอ็นเต็ม ปัจจุบันจึงเป็นเอ็นที่ได้รับความนิยมสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน ตกปลาตามบ่อฟิชชิ่งปาร์ค หรือ งานทะเล เนื่องจาก มีให้เลือกหลากหลายญี่ห้อ และ ราคาไม่แพงมาก สนนราคา ม้วนละ 100 -300 กว่าบาทก็มีให้เลือกใช้งานกันไม่หวาดไม่ไหว อีกทั้งยังมีการใส่สี เติมแสงเข้าไปมากมาย หลายญี้ห้อ มีทั้งแบบสีสันจัดจ้าน สดใส สีสลับ ก็เป็นที่นิยม เพราะ มองเห็นได้ง่ายเวลาจะผูกสายตอนกลางคืน แต่เมื่อมีข้อดี ก็มีข้อเสียอยู่เช่นกัน หากเรายอมรับข้อเสียนี้ได้ เราก็สามารถเลือกใช้งานเอ็นโหลดได้อย่างคุ้มค่าคุ้มราคาแน่นอนครับ
        
        หากท่านไม่แน่ใจว่า สายที่ซื้อมาเป็นสายแบบหน้าตัดเต็ม หรือ เป็นสายโหลด ก็สามารถนำขนาดหน้าตัดของสายเอ็น มาเปรียบเทียบกับตารางข้างบนได้ จะเห็นได้ว่า สายโหลดส่วนใหญ่ มักจะผลิตให้สายทดไปประมาณ 1/4 ส่วน หรือ ในบางญี่ห้อ อาจทดไปถึง 2/4 ส่วน หรือ โหลดครึ่งต่อครึ่่งของสายเอ็นแบบเต็มปอนด์เลยก็มี อาทิเช่น สายเป็นรับแรงได้เท่ากับเอ็น 30 ปอนด์ ถ้าเป็นเอ็นโหลดจะมีหน้าตัดเหลือแค่ 0.40 หรือ 0.45 หรือเท่ากับ โหลดให้เส้นเอ็นขนาด 30ปอนด์ แต่ทำให้เส้นเล็กลงเหลือแค่ 15-20 ปอนด์เท่านั้น เห็นมั๊ยครับ ขนาดเส้นหายไปกว่าครึ่ง ทำให้เราสามารถจุสายได้ มากขึ้นเกือบเท่าตัว ... ทดเวลาบาดเจ็บให้กันเห็นๆ 

เอาหล่ะครับ งั้นเรามาดูการเปรียบเทียบ ข้อดี ข้อเสียกันอย่างชัดๆหน่อยก็คือ
เอ็นโหลด มีราคา :  ม้วนละประมาณ 100 - 400 กว่าบาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพ และ ญี่ห้อนะครับ
ข้อดี :  - เส้นมีขนาดเล็กลง จึงทำให้จุสายใส่สปูนได้เยอะขึ้น กว่าเท่าตัว
           - มีขนาดเส้นที่เล็ก และ เนียนนุ่มกว่า สายเอ็นแบบหน้าตัดเต็ม เมื่อเทียบกันแบบปอนด์ต่อปอนด์
           - เมื่อเส้นไม่กระด้างเหมือนเอ็นโหลด ก็จึงทำให้ส่งสาย หรือ ตีสายออกไปได้ง่ายกว่า
           - ไม่ต้องกังวลเรื่อง สายเอ็นจะพองขึ้นมามากเหมือนเอ็นหน้าตัดเต็ม
           - สามารถใส่เอ็น ขนาด 10ปอนด์ เข้าสปูนของรอกขนาดเล็ก ได้ง่ายๆ ทำให้ใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการตกกุ้ง หรือ ตกปลาเล็ก-ขนาดกลาง
            - มีหลายญี่ห้อให้เลือกใช้งาน และ มีหลากหลายสีสัน ตามแต่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น สีสลับ หรือ สีใส่ๆ

ข้อเสีย :  - เพราะเป็นเอ็นที่ผ่านการดึงเส้นให้ยืด เพื่อลดขนาดหน้าตัดสายเอ็นแล้ว จึงทำให้หากโดนกระชากแรงๆ จะทำให้เนื้อเอ็นเสียรูปทรงได้ง่าย และ อาจเกิดอาการเส้นเอ็น หงิง งอ เป็นสปริง หรือ เส้นมาม่าได้

              -  มีความทนทาน หรือ ทนต่อแรงกระชาก ต่ำกว่าแบบเอ็นหน้าตัดเต็ม  เพราะผ่านการยืดมาแล้วส่วนหนึ่ง หากโดนแรงดึงกระชาก อย่างต่อเนื่อง เนื้อเอ็นจะไม่สามารถให้ตัวได้มาก หรือ ยืดออกรับแรงกระชากได้อีก และ มักจะขาดง่ายกว่า ซึ่งต่างกับเอ็นหน้าตัดเต็ม ที่ยังไม่ผ่านการยืดเส้นมา จึงสามารถยืดตัวได้อีก หากเจอแรงดึงกระชากหนักๆก็ยังคงยืดตัวรับแรงกระชากได้อีกส่วนหนึ่ง

















สาย  PE หรือ Dyneema : ราคาเฉลี่ย ตั้งแต่ (ม้วนแบบ 100เมตร) ประมาณ 250-500 บาท ส่วนสายPEเส้นใหญ่ๆผมเคยเห็นเมคอินเจแปน 100เมตร ราคา 1,500 บาทครับ (เรื่องราคาคงอยู่ที่คุณภาพ และ อ๊อฟชั่นเสริมที่ทำให้ใช้งานได้ทนทานมากยิ่งขึ้น )
ข้อดี : - มีความทนทานสูง ไม่ว่าจะเจอแรงกระชาก แรงเสียดสี ก็ไม่มีการยืดตัวอีก
          - มีขนาดเส้นที่เล็กมาก เมื่อเทียบกับขนาดสายเอ็นหน้าตัดเต็ม แบบว่า เส้นเล็กกว่ากันครึ่งต่อครึ่ง ทำให้เวลาจุสายสามารถใส่สายขนาดปอนดืใหญ่ได้จำนวนเยอะขึ้น
          - หากท่านเลือกซื้อสายที่มีการถักพันสายมาค่อนข้างดี เนื้อสายจะแน่นไม่ค่อยอมน้ำ ส่วนเรื่องที่ว่า อมน้ำมากน้อย อันนี้ขึ้นอยู่กัน กระบวนการผลิตของสายญี่ห้อนั้นๆ ว่าได้มีสารเคลือกสายกันน้ำ หรือไม่ หากมี เนื้อสายอาจจะแข็งกว่าเล็กน้อย แต่ข้อดีคือ สายจะเส้นเล็กมากและไม่ค่อยอมน้ำเลย ส่วนสารที่ไม่เคลือกสารกันน้ำ หรือ ผ่านกระบวนการผลิตที่ถัก ทอ หรือ พันสายมาไม่ค่อยแน่น เนื้อสายจะนิ่มกว่า แต่ ข้อเสียคือ สายจะอมน้ำ และ บวมใหญ่ขึ้นมากเมื่อโดนน้ำ ทำให้สายเปื่อยง่าย และ ส่งผลต่อความจุสายที่จะใส่ได้น้อยลง และยิ่งถ้าสายอมน้ำมากๆ เวลาตีเหยื่อสายจะออกตัวยากทำให้ตีเหยื่อได้ไม่ค่อยไกล
            - มีอายุการใช้งานสายที่ค่อนข้างนานกว่าสายเอ็น เพราะเป็นสายผ้าถักหลายเส้นรวมกัน ทำให้มีการผ่อนแรงกันไปตามเส้นเชือกไม่ได้สงแรงกระชากถึงสายเพียงเส้นเดียว และ ยิ่งถ้าสายผ้าที่ผลิตได้คุณภาพดี ที่มีการเคลือกสายดีๆ สายมักไม่ค่อยเป็นขรุย แม้ยืนตกปลาตากแดดเป็นเวลานาน ก็ไม่ส่งผลต่อคุณภาพสายให้ลดลง
             - แม้จะโดนกระชากแรงๆ สายผ้าก็ไม่มีการหงิง งอ หรือ ยืดตัวออก เหมือนกับสายเอ็น
            
ข้อเสีย  : - มีราคาแพงกว่าสายเอ็น ถ้าเทียบกันตามราคาและความยาวของเนื้อสายที่จะได้รับ
              - เวลาตีสาย สายผ้าจะทำระยะได้ไกลสู้ สายเอ็นไม่ได้ เพราะสายเอ็นมีแรงสปริงตัว ไม่เหมือนกับสายผ้าที่ไม่มีแรงสปริง หรือ ดีดตัวเลย
               - สายผ้ามักจะลอยน้ำ ซึ่งต่างกับสายเอ็นบ้างญี่ห้อที่ผลิตออกมาให้จมน้ำได้เร็ว
               - หากท่านเลือกวื้อสายผ้าในราคาถูก สายมักจะอมน้ำและบวมขึ้นมากทำให้ตีสายออกไปได้ยาก

               - เนื่องจากสายผ้าจะไม่ยืดตัว หรือ ไม่มีการให้ตัวอีกแล้ว แม้ถูกแรงดึง กระชากที่เกินกว่าน้ำหนักที่สายจะรับไหว แต่สายผ้าส่วนมากก็จะไม่ขาด หากโดนแรงดึงตรงๆ แต่ เพราะไม่มีแรงยืดตัว ส่วนมาก หากผูกชุดตาเบ็ดดีๆ หากตาเบ็ดไม่หัก ปากปลาก็มักจะฉีกขาดแทน ซึ่งจะเห็นได้บ่อยเวลาไปบึง เมื่อปลาลากสายผ้าอย่างแรง และ นักตกปลาปิดเบรครอกหมด หากรอก และ คันคุณมีคุณภาพดี ปลาที่ดึงสายอย่างแรงมักจะปากขาดไปก่อนที่จะดึงตัวขึ้นมาได้
http://www.greenfishings.com/board/board_show.php?que_id=180

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น