ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ชนิดของปลา



เทคนิคการตกปลากระสูบ

    ปลากระสูบ เป็นปลาที่มีลักษณะลำตัวค่อนข้างแบน รูปร่างจะคล้ายๆปลาตะเพียน เพราะเป็นปลาในสายวงศ์เดียวกัน ว่ายน้ำได้รวดเร็ว ชอบไล่จับปลาขนาดเล็ก ปลากระสูบเป็นปลา สกุลหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์แทบทุกภาคของประเทศ โดยสามารถพบได้ทั้งในบริเวณที่เป็นแหล่ง น้ำนิ่งและเป็นแหล่งน้ำไหล แม้แต่ในบริเวณที่เป็นลำธารตื้นๆ ที่ไหลมาจากน้ำตก ปลากระสูบที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติในบ้านเรามีด้วยกัน 3 ชนิด โดยวันนี้ผมจะบอกกล่าวเรื่องสายพันธุ์แบบคร่าวๆ นะครับสำหรับท่านไหนที่ต้องการทราบแบบละเอียดๆ ก็ลองค้นหาข้อมูลมาอ่านกันดูนะครับ สำหรับชนิดของปลากระสูบที่พบในประเทศมีด้วยกันดังต่อไปนี้ครับ
1 กระสูบขีด
2 กรสูบจุด
3 กระสูบพม่า
    อย่าง ที่ได้บอกไปแล้วนะครับปลากระสูบเป็นปลาที่มีวิวัฒนาการจากปลากินพืชมาเป็น ปลาล่าเหยื่อ โดยปลากระสูบจะมีการเข้าฝูงกันและช่วยกันจับเหยื่อ ปลาโดยส่วนใหญ่จะเป็นปลากระสูบที่มีขนาดเล็ก เพราะเมื่อปลากระสูบมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นปลากระสูบก็จะแยกฝูงครับ (คล้าย ๆ ดังแล้วแยกวง) จะเริ่มออกล่าเหยื่อเพียงลำพัง โดยปลากระสูบเมื่อเติบโตเต็มที่จะมีความยาวลำตัวประมาณ 40 เซนติเมตรเลยทีเดียว และเมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักได้ถึง 4 – 5 กิโลกรัม เลยทีเดียว ถึงตอนนี้เรามาลองดูกันดีกว่าว่าถ้าเราจะออกไปตกปลากระสูบนั้นเราควรเตรียม อะไรกันไปบ้าง

อุปกรณ์ในการตกปลากระสูบ

คันเบ็ดและรอก ใช้ได้ทั้งชุดสปินนิ่งและเบทคาสติ้ง มีแบบไหนลองเอาไปใช้กันดูแล้วกันนะครับ ขนาดปานกลางขึ้นไป
สายเอ็น เลือกใช้ได้ตั้งแต่ 8 - 16 ปอนด์
ลีดเดอร์ ใช้สายเอ็นไนลอนธรรมดาขนาดใหญ่กว่า สายเอ็น 1 - 2 เท่า


เหยื่อ

เหยื่อที่ใช้ ในการตกปลากระสูบนั้นสามารถใช้ได้หลายชนิดครับ ไม่ว่าจะเป็น ไส้เดือน กุ้ง ปลาเล็ก เหยื่อสดพวกนี้สามารถนำมาใช้ได้หมดครับ แต่เหยื่อที่ใช้แล้วได้ผลมากขึ้นก็คือ เหยื่อ ลูกปลาตะเพียน ลูกปลาสร้อยตัวเล็กๆ ปลาซิวแก้ว เป็นต้น สำหรับเหยื่อที่นักตกปลานิยมใช้งานและใช้แล้วได้ผลมากที่สุด ก็คือ เหยื่อปลอมจำพวก สปินเนอร์ สปูน และปลาปลอม
วิธีการตกปลากระสูบ

เมื่อ อุปกรณ์พร้อม เรามาดูกันว่าเราจะทำยังไงตกปลาที่ไหนถึงจะมีโอกาสได้ตัวใต้น้ำกัน อย่างที่บอกไปแล้วนะครับปลากระสูบเป็นปลาล่าเหยื่อซึ่งจะไล่ลูกปลา โดยปลากระสูบเองมักจะไล่เหยื่อจากใต้น้ำ เราเลยขอแนะนำการตกปลากระสูบแบบง่าย ๆ คือการปล่อยเหยื่อลงไปให้ถึงพื้นเลยนะครับ จะปล่อยลงไปตรง ๆ ก็ได้ เมื่อตีเหยื่อออกไปแล้วให้เราทนรอ ให้เหยื่อจมลงไปในน้ำสักระดับหนึ่ง จากนั้นก็ให้ลากเหยื่อมาด้วยความเร็ว ถ้าบริเวณนั้นมีปลากระสูบอยู่ละก็บอกได้เลยครับว่าโอกาสมีสูง แล้วถ้าที่หมายนั้นมีปลากระสูบไล่ลูกปลาอยู่แล้วละก็ให้เราตีเหยื่อได้เลย บริเวณที่ปลากระสูบกำลังไล่เหยื่อ จากนั้นรอให้เหยื่อจมแล้วลากกลับมาครับ แบบนี้จะมีโอกาสสูงขึ้นไปอีกเพราะเป็นเวลาที่ปลากระสูบตื่นตัวทำให้ปลากระสูบมาไล่เหยื่อเราแล้วก็ฮุบเหยื่อในที่สุดครับ





http://g-fishinggame.blogspot.com/2010/04/blog-post_560.html


https://www.l3nr.org/posts/317809


เทคนิคการตกปลา เข้าหมายอย่างมืออาชีพ


เทคนิคการตกปลา เข้าหมายอย่างมืออาชีพ


วิธีการไปตกปลาส่วนใหญ่นั้นเมื่อเราไปถึงเขื่อน เราก็จะจ้างเรือให้พาเราไปตกปลา หรือถ้าเรามีเรือเองก็ขับไปเข้าหมายเองเลยครับ ส่วนจะให้พาไปส่งตามเกาะแก่ง แล้วเดินตกปลาเหวี่ยงเหยื่อไปเรื่อยๆนั้น น่าจะหาได้น้อย
เต็มทีครับ นอกจากไปอยู่ในสถานที่นั้นเป็นเวลายาวนาน ครับ.

ในที่นี้ผมจะพูด ถึงวิธีการมองหมาย แบบง่ายๆ ด้วยการตกปลาทางเรือนะครับ โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อเรือพาเราเข้าไปถึงหมายโดยรวมเป็นบริเวณกว้างๆแล้ว เขาจะพายเรือให้เราเหวี่ยงเหยื่อกันใช่ใหมครับ.   ทีนี้เราก็เริ่มหยิบเหยื่อ
ในใจขึ้นมา เกี่ยวเหยื่อเสร็จ เหวี่ยงๆๆๆๆๆ เข้าไป เผื่อจะเจอ......  ใช่ใหมครับ ถ้าเกิดโดนขึ้นมาล่ะก็ ดีใจ แต่ถ้าไม่...เหวี่ยงไป ร้อย สองร้อย สามร้อยไม้ ก็แล้ว ไม่แสดงผลอะไรเลย ก็จะทำให้เราท้อใจกันไปใหญ่ใช่ใหมครับ.

ในประสพการณ์ของผม เมื่อเริ่มหัดตกปลาถ้าไปถึงเขื่อนก็เหมือนกันครับ ถึงหมาย ก็เริ่มเลย หวดๆๆๆๆ ตกลงไม่รู้อยากเหวี่ยงเหยื่อ หรืออยากตกปลา กันแน่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเวลาผ่านไป ผมลองสังเกตุดูธรรมชาติไปเรื่อยๆนั้น
วิธีการตกปลาในแหล่งหมายธรรมชาติไม่ได้ยากอย่างที่คิดนัก หากเรารู้จักสังเกตุให้ดีๆ เช่นหากเราเข้าหมายด้วยความเร็วสูง เสียงดัง จะทำให้ปลาตกใจหนีไปก่อนก็เป็นได้ เมื่อไม่มีปลา เหวี่ยงเหยื่อสักเท่าใหร่ ปลาก็ไม่กินเหยื่อจริงใหม
ครับ. หรือ การที่เราเหวี่ยงเหยื่อถึ่ๆ เหวี่ยงไปเรื่อยๆ ไม่สนใจมีแรงเท่าใหร่ก็เหวี่ยงออกไป จริงๆแล้ว จะทำให้ปลาตกใจหนี หรือระแวงไปเสียปล่าวๆ ครับ.


วิธีที่ถูกต้อง ครับ เข้าหมาย ช้าๆ เมื่อใกล้ถึงหมายเราสามารถบอกคนเรือได้ครับว่าให้ดับเครื่องไกลหน่อยแล้ว ค่อยๆพายเรือเข้าไปครับ ช้าๆ เงียบๆ ครับ ที่สำคัญ อย่าคุยกันเสียงดัง หากไปกับเพื่อนๆ ครับ ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้เรามีโอกาสได้ตัวสูงมากครับ เพราะปลาเหล่านี้มันซุ่มดักรอเหยื่ออยู่ด้วยความเงียบ เมื่อมีเสียงดังเอะอะเข้ามา อาจทำให้มันระแวง หรือหมดอารมณ์ ล่าเหยื่อได้ครับ คล้ายๆกับเรานั่นแหละครับ กำลังดูหนัง ลุ้นตอนเข้าได้เข้าเข็มอยู่ ดันมีคนเปิดประตูเข้ามาทำเสียงเอะอะโวยวาย ก็พาลหมดอารมณ์นะสีครับ เผลอๆจะเลิกดูหนังเอาเลยด้วยซ้ำ จริงใหมครับ.
























สายเอ็น ปะทะ PE



             วันนี้ผมขอร่วมแบ่งปัน ประสบการณ์การศึกษาและบทความดีๆที่ผมได้ไปเจอมา ในการเลือกใช้สายตกปลา สำหรับมือปลาบ่ออย่างผมหน่อยนะครับ ( อยากร่วมแบ่งปัน สำหรับน้าๆที่ยังไม่ทราบนะครับ ท่านที่ทราบแล้ว ข้ามกระทู้นี้ไปได้เลยครับ )

เดี่ยวนี้เวลาเดินเข้าบ่อตกปลาทีไร ผมก็จะเจอทั้งนักตกปลาท่านอื่นๆ ที่ใช้สายเอ็น สีสันสดใส หรือ สีเรียบๆก็มี มีทั้งแบบเป็นสาย PE หรือ สายDyneema เส้นโตๆก็เจอบ่อย .... หลายคนๆคงเคยคิดเหมือนผมใช่มั๊ยครับ ... ว่าตกลงสายแต่ละแบบที่หลายๆคนใช้ ต่างกันอย่างไร  วันนี้ผมขอสรุปจากประสบการณ์ในการเลือกใช้สายตกปลาของผมกันอย่างคราวๆนะครับ

สายที่ใช้ในวงการกีฬาตกปลา  บ้านเรามี2 แบบครับ  ( เอาเฉพาะสายที่ใช้กรอใส่รอกก่อนนะครับ )
แบบที่ 1 คือ แบบที่เป็นลักษณะเนื้อเอ็น จะเป็นเอ็นสี หรือ เอ็นเนื้อใสๆ ก็มีอีก 2ประเทภครับ คือเอ็นแบบเต็ม หรือเอ็นแบบดโหลด
แบบที่ 2 คือ สายที่มีลักษณะเป็นเนื้อผ้าถัก หรือ ที่เราหลายๆคนคุ้นหูกัน ก็คือ สายPE หรือ สายไดนีม่า นั้นเองครับ  

สายตกปลาแบบที่ 1 สายเอ็น ถ้าแบ่งตามกระบวนการผลิต จะแบ่งย่อยได้เป็น
 
    สายเอ็นแบบสายเอ็นเนื้อเต็ม
         ที่มักเรียกกันว่า สายเอ็นเต็ม ก็เพราะ การผลิตสายเอ็นนั้น จะมีมาตรฐานหน้าตัด ซึ่งจะเป็นตารางเรียบเทียบ ขนาดหน้าตัดสายเอ็น ต่อแรงดึง หรือ แรงที่สายจะรับน้ำหนักได้แบบมาตราฐาน และ กำหนดมาตราฐานว่า สายหน้าตัดขนาดนี้เป็นเส้นเอ็นขนาดกี่ปอนด์
   
ขนาดหน้าตัดของสายเอ็นเปรียบเทียบเอ็นเต็มปอนด์มาตรฐาน
หน้าตัด(mm.)         แรงดึงที่เอ็นรับได้(LB)          
   0.20                            4
   0.26                            6                        
   0.28                            8                        
   0.30                           10                      
   0.35                           12                      
   0.40                           15                      
   0.45                           20                      
   0.50                           25                      
   0.55                           30                      
   0.60                           35                        
   0.65                           40                      
   0.70                           45                       
   0.75                           50
   0.80                           55
   0.85                           60
   0.90                           65
   0.95                           70                      

   ตารางเปรียบเทียบขนาดหน้าตัดนี้ สามารถใช้วัด สายขนาดของสายเอ็น โหลด หรือ สายPE , Dyneema ก็ได้ หากสายที่เราซื้อมา ไม่ได้ระบุขนาดสายที่โหลด หรือ ขนาดสายผ้าที่มักจะบอกเป็น PE2 เพื่อจะนำมาคำนวณขนาดความจุของสาย กับสปูนรอกของเราได้ง่ายๆ
  
     อย่าลืมว่า ขนาดหน้าตัด เป็นตัวกำหนดความจุของสาย 1 สปูนในรอกของเรา ยกตัวอย่างเช่น หากสปูนรอกเรากำหนดว่า จุสายหน้าตัด 0.40 ได้ 100 m. ก็เท่ากับว่า เราจะจุสาย 15 ปอนด์ ได้ 100 เมตร แต่เราดันไปเลือกวายขนาด 0.45 หรือ เอ็น20ปอนด์ มาใส่แทน เราก็อาจจะได้ความยาวของสายเอ็น ใน1 สปูนน้อยลง อาจจะเหลือแค่เพียง 70-80 เมตรเท่านั้น  ดังนั้น หากเราเลือกสายที่มีหน้าตัดใหญ่ แต่รอกของเรามีขนาดสปูนเล็ก จะทำให้เราจุสายได้น้อย สงผลให้เวลาเราตกปลาและ ปลาลากสายวิ่งไปไกล อาจดึงจนสายหมดสปูนได้ง่ายๆ อันนี้ต้องระวังให้ดีๆนะครับ!!! 
เมื่อเราทราบขนาดหน้าตัดของสายแล้ว เราก็มาดู ข้อดี ข้อเสีย ของสายเอ็นประเภทนี้กันอย่างคราวๆดีกว่าครับ

ราคา: สายเอ็นแบบหน้าตัดเต็ม เท่าที่ผมรู้ว่ามีขายในประเทศไทย มีอยู่ไม่กี่ญี่ห้อ ตกราคาหลอดละประมาณ 340-400 บาทครับ
ข้อดีคือ : สายเอ็นแบบหน้าตัดเต็ม มีข้อดีตรงที่ เป็นสายที่มีขนาดตามมาตราฐาน และ ผ่านกระบวนการผลิตสายให้ออกมามีขนาดเท่ากับเอ็นที่กำหนดภายในครั้งเดียว ไม่มีการยืดสายออกให้มีขนาดเส้นเอ็นเล็กลงเหมือนเอ็นแบบสายโหลด จึงทำให้ สายเอ็นแบบแต็มปอนด์
   - มีความทนทาน  ทนแรงเสียดสีได้ดีกว่าแบบเอ็นโหลด
   - ยังสามารถยืดตัวได้อีก ในกรณ๊ที่โดนปลาใหญ่ดึงสายเกินขนาดที่มาตรฐานกำหนก สายเอ็นแบบเต็มยังคงสามารถยืดตัวได้อีกนิดหน่อย ทำให้ในบางครั้งเราสามารถสู้ปลาใหญ่ได้อย่างอุ่นใจกว่า
    - เนื้อเอ็นแบบเต็ม ไม่ค่อยเกิดอาการสายหงิง งอ เป็นผ่อยเล็กๆ เหมือนเส้นมาม่า เวลาโดนกระชากแรงๆ เหมือนสายเอ็นโหลดบางญี่ห้อ
     -  สายเอ็นแบบเต็ม  มีอายุการใช้งานได้นานกว่า สายเอ็นแบบโหลด ส่วนใหญ่มักใช้กันประมาณ 6เดือน-1ปี ในกรณีที่ใช้งานปกติ แบบตกปลาตามบ่อ แต่หากใช้งานทะเล อาจทำให้อายุการใช้งานของสายเอ็นสั้นลง ได้
                               
ข้อเสีย : สายเอ็นแบบหน้าตัดเต็ม  มักมีขนาดเส้นเอ็นที่ใหญ่ ทำให้จุสายได้น้อย
      - เนื้อสาย มักมีความแข็งกระด้าง ดังนั้นจึงมักมีปัญหา สายพองขึ้นมาจากสปูน วิธีแก้ไขคือ กรอสายเอ็นสำหรับ รอกเบท และ สปิน อย่าให้เต็มสปูน ให้กรอเอ็นใส่ประมาณ 3/4 ส่วนของสปุนก็พอ เนื่องจากเมื่อเราตีสายออกไป สายจะพองตัวขึ้นอีกเล็กน้อย และเวลาเราเก็บสายจะไม่แน่นเหมือนเวลาที่ใช้เครื่องกรอสายเอ็นเข้ารอก ดึงนั้นเมื่อเรากรอสายเก็บเข้ามาจึงส่งผลให้สายสปริงตัวขึ้น

       ดังนั้น นักตกปลาจึงมักเลือกใช้สายเอ็นแบบหน้าตัดเต็ม กับรอกขนาดกลาง-ใหญ่ เพื่อจุสายได้พอกับที่จะต้องใช้งาน และ เพราะความทนทานที่มากกว่าสายเอ็นแบบโหลด จึงทำให้มือปลาบึกทั้งหลายยังคงยึดติด และ ยอมมองข้ามอาการสายพองตัวหรือ จุดด้อยของสายเอ็นประเภทหน้าตัดเต็มนี้ไปได้




สายเอ็นแบบสายเอ็นเนื้อโหลด
       เอ็นโหลดที่หลายๆท่านชื่นชอบ นั้นแท้ที่จริงก็คือเนื้อเอ็นหน้าตัดเต็มอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น แต่ได้ผ่านกระบวนการดึงให้เส้นเอ็นหน้าตัดเต็มมาตราฐาน ให้ยืดออกทำให้เส้นเอ็นมีขนาดที่เล็กลง และ นุ่มมากยยิ่งขึ้น เพื่อให้การใช้งานได้นุ่มเนียน และ ทำให้จุสายเอ็นได้เยอะยิ่งขึ้น เหมาะมากสำหรับงานตกปลาขนาดกลาง หรือ เล็ก ที่ต้องการสายเอ็นขนาดเล็กดึงเนียนๆ แบบงานสปิ๋ว หรือ งานตกปลาเกล็ด และ ปลาสวาย

         แต่ถึงจะเรียกว่า เอ็นโหลด แต่ในปัจจุบัน ก็มีการผลิตสายเอ็นแบบโหลด ขนาดเส้นใหญ่แบบ 70ปอนด์ โหลดขนาดเส้นให้เล็กเหลือแค่ 50 ปอนด์ก็มี ข้อดึ ก็คือ จุสายได้เยอะขึ้นมากกกก และ ทำให้ตีสายได้ง่ายขึ้น เพราะเนื้อเอ็นไม่ค่อยกระด้างมากเหมือนเอ็นเต็ม ปัจจุบันจึงเป็นเอ็นที่ได้รับความนิยมสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน ตกปลาตามบ่อฟิชชิ่งปาร์ค หรือ งานทะเล เนื่องจาก มีให้เลือกหลากหลายญี่ห้อ และ ราคาไม่แพงมาก สนนราคา ม้วนละ 100 -300 กว่าบาทก็มีให้เลือกใช้งานกันไม่หวาดไม่ไหว อีกทั้งยังมีการใส่สี เติมแสงเข้าไปมากมาย หลายญี้ห้อ มีทั้งแบบสีสันจัดจ้าน สดใส สีสลับ ก็เป็นที่นิยม เพราะ มองเห็นได้ง่ายเวลาจะผูกสายตอนกลางคืน แต่เมื่อมีข้อดี ก็มีข้อเสียอยู่เช่นกัน หากเรายอมรับข้อเสียนี้ได้ เราก็สามารถเลือกใช้งานเอ็นโหลดได้อย่างคุ้มค่าคุ้มราคาแน่นอนครับ
        
        หากท่านไม่แน่ใจว่า สายที่ซื้อมาเป็นสายแบบหน้าตัดเต็ม หรือ เป็นสายโหลด ก็สามารถนำขนาดหน้าตัดของสายเอ็น มาเปรียบเทียบกับตารางข้างบนได้ จะเห็นได้ว่า สายโหลดส่วนใหญ่ มักจะผลิตให้สายทดไปประมาณ 1/4 ส่วน หรือ ในบางญี่ห้อ อาจทดไปถึง 2/4 ส่วน หรือ โหลดครึ่งต่อครึ่่งของสายเอ็นแบบเต็มปอนด์เลยก็มี อาทิเช่น สายเป็นรับแรงได้เท่ากับเอ็น 30 ปอนด์ ถ้าเป็นเอ็นโหลดจะมีหน้าตัดเหลือแค่ 0.40 หรือ 0.45 หรือเท่ากับ โหลดให้เส้นเอ็นขนาด 30ปอนด์ แต่ทำให้เส้นเล็กลงเหลือแค่ 15-20 ปอนด์เท่านั้น เห็นมั๊ยครับ ขนาดเส้นหายไปกว่าครึ่ง ทำให้เราสามารถจุสายได้ มากขึ้นเกือบเท่าตัว ... ทดเวลาบาดเจ็บให้กันเห็นๆ 

เอาหล่ะครับ งั้นเรามาดูการเปรียบเทียบ ข้อดี ข้อเสียกันอย่างชัดๆหน่อยก็คือ
เอ็นโหลด มีราคา :  ม้วนละประมาณ 100 - 400 กว่าบาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพ และ ญี่ห้อนะครับ
ข้อดี :  - เส้นมีขนาดเล็กลง จึงทำให้จุสายใส่สปูนได้เยอะขึ้น กว่าเท่าตัว
           - มีขนาดเส้นที่เล็ก และ เนียนนุ่มกว่า สายเอ็นแบบหน้าตัดเต็ม เมื่อเทียบกันแบบปอนด์ต่อปอนด์
           - เมื่อเส้นไม่กระด้างเหมือนเอ็นโหลด ก็จึงทำให้ส่งสาย หรือ ตีสายออกไปได้ง่ายกว่า
           - ไม่ต้องกังวลเรื่อง สายเอ็นจะพองขึ้นมามากเหมือนเอ็นหน้าตัดเต็ม
           - สามารถใส่เอ็น ขนาด 10ปอนด์ เข้าสปูนของรอกขนาดเล็ก ได้ง่ายๆ ทำให้ใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการตกกุ้ง หรือ ตกปลาเล็ก-ขนาดกลาง
            - มีหลายญี่ห้อให้เลือกใช้งาน และ มีหลากหลายสีสัน ตามแต่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น สีสลับ หรือ สีใส่ๆ

ข้อเสีย :  - เพราะเป็นเอ็นที่ผ่านการดึงเส้นให้ยืด เพื่อลดขนาดหน้าตัดสายเอ็นแล้ว จึงทำให้หากโดนกระชากแรงๆ จะทำให้เนื้อเอ็นเสียรูปทรงได้ง่าย และ อาจเกิดอาการเส้นเอ็น หงิง งอ เป็นสปริง หรือ เส้นมาม่าได้

              -  มีความทนทาน หรือ ทนต่อแรงกระชาก ต่ำกว่าแบบเอ็นหน้าตัดเต็ม  เพราะผ่านการยืดมาแล้วส่วนหนึ่ง หากโดนแรงดึงกระชาก อย่างต่อเนื่อง เนื้อเอ็นจะไม่สามารถให้ตัวได้มาก หรือ ยืดออกรับแรงกระชากได้อีก และ มักจะขาดง่ายกว่า ซึ่งต่างกับเอ็นหน้าตัดเต็ม ที่ยังไม่ผ่านการยืดเส้นมา จึงสามารถยืดตัวได้อีก หากเจอแรงดึงกระชากหนักๆก็ยังคงยืดตัวรับแรงกระชากได้อีกส่วนหนึ่ง

















สาย  PE หรือ Dyneema : ราคาเฉลี่ย ตั้งแต่ (ม้วนแบบ 100เมตร) ประมาณ 250-500 บาท ส่วนสายPEเส้นใหญ่ๆผมเคยเห็นเมคอินเจแปน 100เมตร ราคา 1,500 บาทครับ (เรื่องราคาคงอยู่ที่คุณภาพ และ อ๊อฟชั่นเสริมที่ทำให้ใช้งานได้ทนทานมากยิ่งขึ้น )
ข้อดี : - มีความทนทานสูง ไม่ว่าจะเจอแรงกระชาก แรงเสียดสี ก็ไม่มีการยืดตัวอีก
          - มีขนาดเส้นที่เล็กมาก เมื่อเทียบกับขนาดสายเอ็นหน้าตัดเต็ม แบบว่า เส้นเล็กกว่ากันครึ่งต่อครึ่ง ทำให้เวลาจุสายสามารถใส่สายขนาดปอนดืใหญ่ได้จำนวนเยอะขึ้น
          - หากท่านเลือกซื้อสายที่มีการถักพันสายมาค่อนข้างดี เนื้อสายจะแน่นไม่ค่อยอมน้ำ ส่วนเรื่องที่ว่า อมน้ำมากน้อย อันนี้ขึ้นอยู่กัน กระบวนการผลิตของสายญี่ห้อนั้นๆ ว่าได้มีสารเคลือกสายกันน้ำ หรือไม่ หากมี เนื้อสายอาจจะแข็งกว่าเล็กน้อย แต่ข้อดีคือ สายจะเส้นเล็กมากและไม่ค่อยอมน้ำเลย ส่วนสารที่ไม่เคลือกสารกันน้ำ หรือ ผ่านกระบวนการผลิตที่ถัก ทอ หรือ พันสายมาไม่ค่อยแน่น เนื้อสายจะนิ่มกว่า แต่ ข้อเสียคือ สายจะอมน้ำ และ บวมใหญ่ขึ้นมากเมื่อโดนน้ำ ทำให้สายเปื่อยง่าย และ ส่งผลต่อความจุสายที่จะใส่ได้น้อยลง และยิ่งถ้าสายอมน้ำมากๆ เวลาตีเหยื่อสายจะออกตัวยากทำให้ตีเหยื่อได้ไม่ค่อยไกล
            - มีอายุการใช้งานสายที่ค่อนข้างนานกว่าสายเอ็น เพราะเป็นสายผ้าถักหลายเส้นรวมกัน ทำให้มีการผ่อนแรงกันไปตามเส้นเชือกไม่ได้สงแรงกระชากถึงสายเพียงเส้นเดียว และ ยิ่งถ้าสายผ้าที่ผลิตได้คุณภาพดี ที่มีการเคลือกสายดีๆ สายมักไม่ค่อยเป็นขรุย แม้ยืนตกปลาตากแดดเป็นเวลานาน ก็ไม่ส่งผลต่อคุณภาพสายให้ลดลง
             - แม้จะโดนกระชากแรงๆ สายผ้าก็ไม่มีการหงิง งอ หรือ ยืดตัวออก เหมือนกับสายเอ็น
            
ข้อเสีย  : - มีราคาแพงกว่าสายเอ็น ถ้าเทียบกันตามราคาและความยาวของเนื้อสายที่จะได้รับ
              - เวลาตีสาย สายผ้าจะทำระยะได้ไกลสู้ สายเอ็นไม่ได้ เพราะสายเอ็นมีแรงสปริงตัว ไม่เหมือนกับสายผ้าที่ไม่มีแรงสปริง หรือ ดีดตัวเลย
               - สายผ้ามักจะลอยน้ำ ซึ่งต่างกับสายเอ็นบ้างญี่ห้อที่ผลิตออกมาให้จมน้ำได้เร็ว
               - หากท่านเลือกวื้อสายผ้าในราคาถูก สายมักจะอมน้ำและบวมขึ้นมากทำให้ตีสายออกไปได้ยาก

               - เนื่องจากสายผ้าจะไม่ยืดตัว หรือ ไม่มีการให้ตัวอีกแล้ว แม้ถูกแรงดึง กระชากที่เกินกว่าน้ำหนักที่สายจะรับไหว แต่สายผ้าส่วนมากก็จะไม่ขาด หากโดนแรงดึงตรงๆ แต่ เพราะไม่มีแรงยืดตัว ส่วนมาก หากผูกชุดตาเบ็ดดีๆ หากตาเบ็ดไม่หัก ปากปลาก็มักจะฉีกขาดแทน ซึ่งจะเห็นได้บ่อยเวลาไปบึง เมื่อปลาลากสายผ้าอย่างแรง และ นักตกปลาปิดเบรครอกหมด หากรอก และ คันคุณมีคุณภาพดี ปลาที่ดึงสายอย่างแรงมักจะปากขาดไปก่อนที่จะดึงตัวขึ้นมาได้
http://www.greenfishings.com/board/board_show.php?que_id=180

สีของเหยื่อปลอมกับการมองเห็นของปลา

สีของเหยื่อปลอมกับการมองเห็นของปลา










ส่วนอันนี้คือข้อมูลอ้างอิง การเลือกสีเหยื่อ จาก Rapala ครับ (ส่วนมากหลักการนี้มักใช้เลือกสีเหยื่อจำพวกงานทะเล เช่น เหยื่อRapala ตะกลูCD ครับ) อาจเป็นข้อมูลเก่าแต่ก็ยังใช้ได้ดีจนถึงปัจจุบันนครับ

1. สีขาวหลังดำหรือหลังเขียว ใช้กับอากาศแจ่มใสหรือกับสภาพพื้นน้ำใส

2. สีขาวหลังฟ้า ใช้กับงานลากเหยื่อในระดับลึกในวันที่ ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส

3. สีทองหลังดำ ใช้กับวันที่อากาศมือครึ้มหรือสภาพพื้นน้ำที่มีแสงน้อย

4. สีทองหลังส้ม ใช้กับพื้นที่น้ำขุ่นมากหรือขุ่นเป็นโคลน

5. สีขาวหลังไพล(เขียวอมเหลือง)ใช้กับพื้นที่ที่แสงส่องไม่ถึงหรือในงานลากเหยื่อในระดับลึกมาก

6. สีชมพูคาดน้ำเงินหลังดำ ออกแบบมาเพื่อตกปลาแซลม่อน ปลาเทร้าท์

7. สีเขียวหรือสีทองหลังดำ เป็เหยื่อที่ก่อให้เกิดภาพลวงตาได้มากที่สุดในสภาพที่มีแสงน้อยทัศนวิสัยมืดคึ้ม

8. สีทองหรือสีเงินหลังน้ำตาลเหมาะสำหรับใช้ในแหล่งน้ำที่มีกุ้งอาศัยชุกชุม หรือในระดับลึกในวันที่อากาศครึ้ม

9. สีเงินหลังดำหรือหลังเขียวใช้ได้ผลกับปลาล่าเหยื่อทุกชนิดในวันที่อากาศโปร่งแจ่มใส

10. สีทองหลังเขียว ใช้ในวันที่อากาศมืดคึ้ม

11.สีขาวหัวแดง เป็นสีที่ยั่วยุให้ปลาล่าเหยื่อเกิดอารมณ์ฉุนเฉียวมาก




http://www.greenfishings.com/board/board_show.php?que_id=32

เทคนิคทำเหยื่อตกปลาเกล็ด

เทคนิคทำเหยื่อตกปลาเกล็ด

  อย่างที่เคยบอกไปนะครับปลาเกล็ด ไม่ใช่ชื่อปลานะครับแต่เป็นจำพวกของปลา ปลาจำพวกปลาเกล็ดนั้น ชอบกินอาหารจำพวกพืชน้ำเช่น ตะไคร่น้ำนะครับ ไม่ก็พวกแมลงใต้น้ำ สัตว์เล็กๆใต้น้ำตามธรรมดาครับ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก นอกจากอาหารพวกนี้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตแล้ว ยังมีอาหารที่เราสร้างขึ้นหรือผสมให้มันกินได้เช่น รำ เศษผัก เป็นต้น ส่วนปลาจำพวกปลาเกล็ดก็เช่น ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลานวลจันทร์เทศ ปลาเฉา ปลาเล่ง ปลาในเทศ ปลาซ่ง ปลาเพี๊ย ปลาเปคู ปลาแรด ปลายี่สกเทศ ประมาณนี้นะครับ


        ทีนี้เราก็ได้รู้จักปลาเกล็ดกันแล้วนะครับ งั้นเราจะมาสอนทำเหยื่อตกปลาเกล็ดกัน ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณน้าหนุ่ย ผู้แนะนำเหยื่อเบื้องต้น สำหรับการตกปลาเกล็ด เป็นเหยื่อสำหรับตก สปิ๋ว การทำเหยื่อเบื้องต้นนั้นน้าๆ ไม่จำเป็นยึดติดกับเหยื่อให้มาก เพราะอย่างที่ผมบอก เหยื่อนั้นเราต้องลองผิดลองถูกแต่ละที่แต่ละหมาย ไม่ได้หมายความว่าจะใช้เหยื่อแบบเดียวกันได้ตลอด นะครับ ก่อนอื่นมาเริ่มกันที่ส่วนผสมเลยนะครับ


          อันดับแรกเลยนะครับ ขอบขนมปังครับ ตรงที่เป็นสีส้มๆอะครับ นำไปตากให้แห้ง แล้วนำไปปั่นให้ละเอียด
          อันดับต่อมา กากมะพร้าวตากแห้งครับ ใส่ผสมกับเชื้อกะทิ หรือถ้าไม่มีเชื่อจริงๆใส่เนื้อกะทิก็ได้ครับ จากนั้นก็ใส่สีเขียว
          อันดับต่อมา ขนมปังขาว นำไปตากแห้งแล้วนำไปปั่นให้ละเอียดเหมือนกับ ขอบขนมปังเลยครับ
          อันดับสุดท้าย รำคั่ว ร่อนให้ละเอียดละเอียด

          พอเราเตรียมส่วนผสมครบแล้ว เราก็จะมาเริ่มการผสมนะครับ ซึ่งการผสมนั้นไม่ได้มีอะไรยุ่งยากเลยครับ โดยเราจะผสมในอัตราส่วนที่เท่าๆกัน เริ่มเลยนะครับเอาขนมปังปั่นละเอียด กากมะพร้าวปั่นละเอียด ขนมปังขาวปั่นละเอียด และรำคั่ว ซึ่งก็คือส่วนผสม 4 อย่างที่เตรียมมานั่นแหละครับนำไปผสมในอัตราส่วนมี่เท่าๆกัน หลังจากนั้นใส่น้ำตามแค่ 1 ช้อนชาเท่านั้น เพราะส่วนผสมได้คำนวณมาแล้วว่าแตกตัวไว ทำการนวดให้เข้ากันเลยนะครับ จริงๆแล้วส่วนผสมมันก็ไม่ได้ตายตัวหรอกครับ อาจจะลองปรับๆดูได้เพิ่มนั้นลดนี่ ที่กล่าวมามันก็แค่สูตรพื้นฐานครับ เราอาจจะปรับเปลี่ยนเพื่อให้มันเข้ากับสถานที่ที่เราจะไปตกก็ได้ครับ ขอให้สนุกกับการตกปลานะครับ

http://fishermantrick.blogspot.com/2015/01/blog-post_24.html   

ว่าด้วยเรื่องของคันเบ็ด (เรื่องเก่าเล่าใหม่)

ชนิดของคันเบ็ด (Types of Fishing Rods)

1.    คันไม้ไผ่  สมัยเก่า  มีหลายขนาด
2.    ค้นสปินนิ่ง
3.    คันเบทคาสติ้ง
4.    คันทอลลิ่ง
5.    คันโบตร๊อค
6.    คันฟราย
7.    คันชิงหลิว
ที่กล่าวมานี้เป็นการเรียกชื่อของแต่ละชนิดของคันเบ็ดที่เห็นกันอยู่ทั่วไป  เรามาลองดูซิว่าในแต่ละคันนั้นมีความเป็นพิเศษกันและการใช้อยู่ตรงไหนบ้าง

คันไม้ไผ่

คันเบ็ดอันนี้ คงเป็นที่รู้จักกันดีในวงการตกปลา  เรพาะเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตากันมาตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่า  การใช้งานนั้น  ก็ใช้ตกปลาได้ทุกชนิด  ขนาดก็มีให้เลือกมากขนาด  หากวาจะใช้ก็ควรที่จะเลือกให้ถูกกับการตกปลา  ปลาเล็กควรเลือกใช้คันที่ปลายอ่อนสักหน่อย  เช่น การตกปลาตะเพียนนั้นควรเลือกคนที่ปลายอ่อนแต่ความยานนั้นไม่ควรที่จะต่ำ กว่า  10  ฟุต  เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการตกปลาด้อยลงไป ในด้านการที่จะหย่อนสายหรือส่งเหยื่อให้ไกลออกไปในแนวตลิ่งชายฝั่งเพื่อไม่ ให้ปลาเกิดความระแวงมาก
หากจะตกปลาใหญ่เช่นปลาช่อนให้เลือกใช้คันที่มีขนาดใหญ่  ส่วนมากคันเบ็ดที่ใช้ตกปลาช่อนนั้นจะมีการคัดมาเป็นพิเศษ  จะมีวางชายกันอยู่ทั่วไปตามร้านขายเครื่องมือประมงแบบเก่า  อย่าไปหาซื้อตามร้านอุปกรณ์สมัยใหม่เข้าละ
ค้นไม้ไผ่นั้นเหมาะแก่การตกปลาแบบจำกัด  อย่างเช่นปลาสวายหรือปลาที่มีขนาดใหญ่หลายๆ  กิโลก็ไม่สะดวกในการที่จะตกปลา  แต่จริงๆ  แล้วก็ตกได้  ขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้ตกเอง

คันสปริงนิ่ง

อันนี้เป็นที่คุ้นเคยมากต่อบรรดาเซียน ทั้งหลาย  คันชนิดนี้  มีหลายขนาดตั้งแต่เล็กไปจนใหญ่  สั้นยาว  ระดับความยาวนั้น มีตังแต่  5 ฟุต  ขึ้นไปจนถึง  15  ฟุตหรืออาจจะยาวกว่านั้นก็ได้  หากว่ามีผู้ที่ผลิตออกมา  แต่ที่เห็นก็ไม่น่าจะเกิน  12-15  หากยาวมากไปกว่านั้น  ก็จะกลายเป็นคันประเภทอื่น
คันสปริงนิ่งนั้น  ส่วนมากแล้วคันที่มี ระดับความยาวไม่เกิน  10 ฟุต  จะมีลักษณะการต่อไม่เกินสองท่อน  เพราะว่าแต่ล่ะอนจะไม่ยาวจนเกินไป  ผู้ที่ผลิตนั้น  มักไม่นิยมทำคันออกมามีหลายต่อ เพราะการต่อคันหลายทีนั้นคันเบ็ดจะมีความแข็งแรงด้อยลงไป  จึงมักนิยมทำเพียงสองท่อนเท่านั้น  แม้แต่ความยาวฟุตก็ยังทำเพียงสองท่อนเท่านั้น
การใช้งานของคันสปินนิ่งนั้น  สามารถใช้งานตกปลาได้แทบทุกประเภท หรือพูดได้เต็มปากว่าตกปลาได้ทุกประเภทจะดีกว่า
เนื่องจากคันสปินนิ่งมีทั้งขนาดความยาวมากมาย  ค้นที่ยาวไม่เกิน  5  ฟุต ให้เลือกความอ่อนแอแข็งแยกแยะกันไปอีกเช่นกัน  คันสั่นเล็กเหมาะสำหรับที่จะใช้งานการตกปลาในเขตที่มีพื้นที่แคบ  บ่อไม่กว้างนักการขว้างเหยื่อไม่น่าจะเกิน  30  เมตร  เนื่องจากเป็นคันที่มีขนาดเล็ก  จึงไม่เหมาะที่จะตกปลาที่มีขนาดใหญ่แต่ถ้ากาดว่าในขณะที่ตกอยู่หากใหญ่มากิน ก็ต้องใช้ความสามารถกันหน่อยแต่ก็ใช้อัดปลาได้
คันที่มีความยาว  7  ฟุต  เหมาะที่จะใช้ ตกปลาในขนาดพื้นที่ปานกลาง  ไม่ใหญ่มากนัก  น้ำหนักการเหวี่ยงเหยื่อไม่มาก  ความแข็งหรืออ่อนแล้วแต่ที่ผลิตมาการเลือกควรเลือกขนาดความแข็งแรง  อย่างเลือกค้นที่แข็งมากเกินไป  นอกเสียจาก  ต้องการใช้งานหนักจริงๆ  เท่านั้น
คันขนาดนี้นับว่าเป็นจัดอยู่ระดับเล็กถึงปานกลาง
คันที่มีขนาดความยาวตั้งแต่  8-10  ฟุต  จัดอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างใหญ่  การตกปลานั้นจึงตกบ่อใหญ่ใหญ่และอัดปลาใหญ่ได้สบาย  เหมาะกับการติดรอกที่มีขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน  ความเหมาะสมในการใช้สาย ก็คือ  12-25  ปอนด์  หรืออาจจะมากกว่านั้น
คันที่มีความยาวตั้งแต่  10  ฟุตขึ้นไปจัดได้ว่าเป็นคันเบ็ดที่อยู่ในขั้นหนัก  ถ้าเปรียบกับนักมวยก็อยู่ในระดับ แบนตั้มเวท  คันประเภทนี้เหมาะที่สุดก็คือการตกปลาชายฝั่งที่มีบริเวณกว้างๆ  ต้องการการเหวี่ยงเหยื่อที่มีระยะไกลๆ  น้ำหนักเหยื่อก็สามารถที่จะแบกได้มาก  สามารถที่จะใช้สายขนาดใหญ่ได้ การใช้รอกก็ควรให้พอดีกับคัน
คันประเภทนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมในบ้านเมืองเรา  แต่ต่างประเทศนั้นมีการตกปลาชายฝั่งทะเลกันมาก  เพราะว่าภูมิประทศทางบ้านเมืองเขาเหมาะกับการตกปลาชายฝั่งทะเลมากกว่าของ เรา  คันเบ็ดขนาดนี้จึงได้รับความนิยมพอสมควรบ้านเราแถบชายฝั่งทะเลก็มีตกกัน บ้าง แต่ไม่ใช้ใหญ่ขนาดนี้  ที่เห็นๆ  ก็ประมาณ  2  ฟุตเต็มที่
มีคันเบ็ดอีกประเภทหนึ่งที่มีราคาถูก  เรียกว่าคันเสาอากาศ  เป็นที่นิยมของเหล่าบรรดามือใหม่ๆ  เด็กๆ  และเหมาะที่จะใส่กระเป๋าได้สะดวก  แต่ข้อเสียก็คือคันเบ็ดชนิดนี้มีความแข็งแรงน้อยมาก  เนื่องจากมีการต่อหลายข้อ  การผลิตจึงต้องทำเนื้อให้มีความบางเพื่อที่จะได้ดึงเข้าดึงออกได้สะดวก  จึงไม่สามารถที่จะทำให้หนาได้
สมัยนี้มีผู้ที่ผลิตคันที่มีความตันเรียกกันว่าคันตัน  มีความเหมาะสมในการตกปลาที่มีน้ำหนักตัวมากๆ  ส่วนมากจะไม่ทำยาวมากนัก  คันพวกนี้เหมาะที่จะตกปลาตามแนวสะพาน  ตอหม้อหรือการจอดตกบนเรือ

คันเบทคาสติ้ง

คัน เบทนี้  มักเป็นที่นิยมกันในบรรดาพวกมือเบท  มีคำพูดที่ว่า  หากว่าตกปลาด้วยเบทแล้ว  มักจะไม่หันกลับมาใช้สปินนิ่งอีกเลย  ความเป็นจริงอย่างไรไม่รู้เหมือนกัน  แต่ที่ถูกต้องน่าจะเป็นความถนัดในการใช้มากกว่า
คันเบทเป็นคันเบ็ดประเภททีออกแบบได้สวยงาม  ไม่ว่รจะเป็นสีสัน ลายไดด์หรือการจัดเรียงลายไกด์ที่ได้ความเหมาะสม  ไกด์ของคันเบทคาสติ้ง  จะต่างกับคันสปินนิ่งตรงที่ว่าขนาดจะเรียงกัน  ตัวล่างสุดจะไม่ใหญ่เหมือนสปินนิ่ง  กลับเล็กและไล่ขนาดได้เรียบร้อย
คันเบทคาสติ้งนั้นเป็นคันที่มีราคาค่อนข้างแพง  มีราคาหลักหลายพัน  เพราะการทำคันนั้นทางผู้ผลิตเองบอกว่าใช้วัสดุดีจึงต้องขายในราคาแพง
ความยาวของคันเบทคาสติ้งนั้นดูเหมือนจะมีให้เลือกกันตั้งแต่  7 ฟุตขึ้นไป
การใช้สายขึ้นอยู่กับการระบุที่ข้างคันเบ็ด  ใช้ตกปลาได้ทุกประเภท  การใช้เมื่อประกอบกับรอกแล้ว  ค่อนข้างจะใช้ยากอยู่สักหน่อย  ต้องใช้เวลาการฝึกตีอยู่ระยะหนึ่ง  เมื่อคล่องแล้วจะเกิดความคล่องตัวขึ้นเอง
สรุปแล้วคันเบทคาสติ้งนั้นไม่แตกต่างจากสปินนิ่ง มากนัก  แต่ถ้าให้เปรียบเทียบในเรื่องของความสวยงามแล้วคันเบทคาสติ้งมีความเพรียว สวยกว่าคันสปินนิ่งเป็นแน่  แต่ก็เป็นเรื่องของใจด้วยอีกนั่นแหละ

คันทรอลิ่ง

คัน เบ็ดประเภทนี้เป็นคันระดับหนัก  ใช้ตกปลาทะเลโดยเฉพาะ  แต่ก็มีบางท่านำเอามาตกปลาน้ำจืดที่มีพละกำลังมากๆ  เช่นปลากดแก้ว  คันทรอลิ่งนั้นเป็นคันเบ็ดที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเกมการตกปลาทะเล  โดยการลากไปกับเรือในความเร็วช้าๆ  เรื่อยๆ  จนกว่าจะมีปลามากินเหยื่อ  โดยเหยื่อที่ใช้นั้นมีทั้งเหยื่อปลอมและเหยื่อเป็น
ความยาวของคันทรอลิ่งนั้นจะยาวตั้งแต่  6  ฟุตขึ้นไป  แต่จะไม่เกิน  8  ฟุต  เพราะจะไม่สะดวกในการตกบนเรือ  คันทรอลิ่งนั้นสามารถถอดได้เป็นส่องท่อนการที่จะถอดนั้นจะสามารถถอดได้ตรง เหนือด้ามจับขึ้นมา  โดยจะมีเกลียวและตัวบังคับอยู่บริเวณมือจับนั่นเอง
คันทรอลิ่งนั้นจะต้องประกอบกับรอกขนาดใหญ่ที่เรียกว่ารอกทริลิ่งด้วยเช่น เดียวกัน  ขนาดนั้นขึ้นอยู่กับ  อันที่จริงแล้วรอกทรอลิ่งก็คือรอกเบทเรานี่เอง  แต่ขนาดใหญ่เกินจาก  2 โอ  ตามที่เรียกกัน  ก็ถือว่าเป็นทรอลิ่ง
คันทรอลิ่งนั้นมีความแข็งแรงทางเป็นพิเศษ  มีให้เลือกทั้งคันตันและคันกลวง  คันกลวงนั้นจะมีน้ำหนักเบากว่า  แต่ความแข็งแรงมักจะสู้คันที่ต้นไม้ได้  มีให้เลือกหลายแบบหลายขนาด  ตั้งแต่  20 ปอนด์  ไปจนถึงเป็นร้อยๆ  ปอนด์
ลวดลายของการพันไกด์บนคันเบ็ดทรอลิ่งนั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นของคันอีกอย่างหนึ่งก็ได้  เจ้าของคันเบ็ดมักจะว่าจ้างพันลายไกด์เป็นราคาที่แพงมากเรียกว่าการบิ๊วคัน ใหม่เพื่อประชันความงามบนคันเบ็ด  ก็เป็นการสร้างรายได้อย่างงามอีกอย่างหนึ่งสำหรับผู้มีฝีมือ

คันโบ๊คร๊อก

คันเบ็ดประเภทนี้ก็เป็นคันเบ็ดที่ใช้ตก ได้ทั้งทะเลและน้ำจืด  เป็นคันท่อนเดียวไม่มีการต่อความยาวจะยางตั้งแต่  5½  ฟุตขึ้นไปแต่ไม่เกิน  7 ½ ฟุต  หากว่ายาวกกว่านั้นแล้วก็นำเอาไปใช้จะไม่สะดวก  จึงนิยมทำมาเคยยาวยาวที่กำหนดให้
คันประเภทนี้นอกจากจะแข็งแรงแล้ว  ยังทนทางอีกด้วย  หากเป็นคันที่ตันแล้วใช้เป็นไม่ตีสุ…ได้เลย  ผู้เขียนเองเคยซื้อคันประเภทนี้มาใช้คันหนึ่ง  มีความแข็งมาก  เอาลูกมะพร้าวลูกใหญ่ๆ  แล้วข้างได้เลย
คันเบ็ดโบ๊คร๊อกนี้  มีการสร้างเหมือนกับคันทรอลิ่งทุกอย่าง  ตั้งแต่ไกด์  ลายด้ามจับ  หากจะผิดกันก็ตรงที่ถอดไม่ได้เท่านั้นเอง
การใช้ก็ใช้ทรอลิ่งได้ดีเหมือนกับการทรอลิ่งอาจจะแข็งแรงกว่าเวลาอัดปลาไม่ ต้องกังวลเรื่องข้อต่อจะหลุดหรือคลอนได้  เหมาะมากกับการอัดปลาที่มีขนาดใหญ่เรื่องของขนาดนั้นก็มีให้เลือกหลายขนาด เช่นกัน  มือเบ็ดทะเลควรที่จะมีเอาไว้สักคันหนึ่ง

คันฟลาย  FLY  ROD

คันเบ็ดชนิดนี้  ได้รับความนิยมในการตกปลาในเมืองไทยมากนัก  เพราะลักษณะในการตกปลาของเมืองเราต่างกันเมืองนอกมาก  คันประเภทนี้เป็นคัดเบ็ดที่ออกแบบมาพิเศษให้ใช้ได้กับรอกฟลายเท่านั้น  จึงจะตกปลาได้ดี  และมีประสิทธิภาพ  จากการทดลองอามาตกปลากับรอกชนิดอื่นแล้วดูไม่เหมาะสมและไม่ได้ผลดีเลย
คันฟลายนั้นออกแบบมาให้ส่วนของคันเบ็ดอ่อนมาก  เพื่อที่จะได้ส่งเหยื่อและสายเบ็ดออกไปได้สะดวกขึ้นน้ำหนักของสายก็มี น้ำหนักเบา  อีกทั้งเหยื่อนั้นก็เป็นชนิดที่เบามาก  เหยื่อนั้นจะเป็นจำพวกแมลง  หรือเหยื่อปลอมที่ทำเลียนแบบแมลงแต่มีความแตกต่างไม่แพ้กัน
เมื่อดูรูปร่างลักษณะของคันเบ็ดฟลายแล้ว  หลายคนที่ไม่สันทัด  เรื่องคันเบ็ดจะคิดว่าเป็นคันเบ็ดสปิ่นนิ่งได้  เพราะความแตกต่างกันไม่มากเท่าไรนัก  จะสังเกตได้ตรงที่วาคันเบ็ดฟลายนั้น  มีด้ามสำหรับจับด้านบนเท่านั้น  ไม่มีด้ามจับด้านล่างคือมีแค่ด้ามจับด้านบนต่อลงมาคือที่ยึดขารอกฟลาย  REEL SEAT
ในลักษณะของไกด์  คันเบ็ดฟลายนั้น  จะมีวงไกด์วงแหวนที่มีขนาดเล็กกวาคันสปินนิ่งเล็กน้อย  ไล่เรียงไป  ตลอดทั้งคัน
คันฟลาย  เหมาะกับการตกปลาในลำธารน้ำที่ มีความลึกไม่มาก  เรียกกว่าสามารถที่จะเดินลุยตกปลาได้  ส่วนมากในเมืองนอกมักจะตกปลาโดยคันเบ็ดฟลายด้วยการเดินไปในลำธารแล้วตี เหยื่อปลอดไปเรื่อยๆ  เรียกความสนใจให้ปลาออกมากินเหยื่อ  แต่เมืองไทยเรานั้น  การตกแบบนั้นหาแทบไม่ได้เลยจะเรียกให้เต็มปากก็ได้ว่า  ไม่มีเลย  จึง ถือว่าคันประเภทนี้ไม้ได้รับความนิยมนำมาใช้นบ้านเรา  แต่การที่จะมีเก็บเอาไว้ก็ไม่แปลกอะไร  ส่วนราคาก็มีให้เลือกตั้งแต่หลักร้อยละและหลักพัน  มีทั้งถูกและแพง  ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่นำมาทำนั่นแหละ

คันชิงหลิว

คนเบ็ดชิงหลิวนั้นเป็นคันเบ็ดที่ได้รับ ความนิยมไม่แพ้คันสปินเหมือนกันคิดว่าท่านที่ชอบตกปลาจะต้องอดไม่ได้ที่จะ ต้องมีคันเบ็ดชนิดนี้ติดท้ายรถเอาไว้  คันเบ็ดชิงหลิวนั้นเป็นการเลียนแบบมาจาก  ค้นไม้ไผ่เรานี้เอง  แต่คันชิงหลิวนั้นสามารถที่จะหดเข้าและดึงออกได้  ความยาวของคันเบ็ดชิงหลิวนั้นมีความยาวแต่  10  ฟุตขึ้นไป  ถึง  15  ฟุตเป็นส่วนมาก
วัสดุที่นำเอามาทำนั้น  ส่วนมากจะเป็นประเภทไฟเบอร์กลาส  หรือยางยี่ห้ออาจมีวัสดุประเภทแกรไฟร์รวมอยู่ด้วย  ซึ่งนั้นก็หมายความว่า  ราคาก็จะต้องแพงไปตามกันไปด้วย
คันชิงหลิวเป็นคันเบ็ดที่เหมาะสำหรับที่ จะตกปลาขนาดเล็ก  มีน้ำหนักไม่เกิน  2 กิโล  เรียกกันว่าได้ตัวประมาณ  2 กิโล  ก้อัดกันอยู่นานกว่าจะเอาขึ้นมาได้  การตกปลาด้วยคันชิงหลิวนั้น  ต้องอาศัยใจเย็น  หากใจร้อนก็มีหวังไม่ขาดก็คันหัก
ความอ่อนของคันเมื่อตกปลาได้จะโค้งงอได้รูปทรงสวยงาม  มองดูแล้วนำหวาดเสียวสำหรับคนดู  แต่มันสำหรับคนอัด
โอกาสที่ใช้มักจะเหมาะกับการตกปลาตามบ่อ  บึง  หรือแนวริมตลิ่งชายฝั่งทั่วไป  คันเบ็ดประเภทนี้มีวิธีการตกอยู่ค่อนข้างมากสักหน่อย
คันเบ็ดชิงหลิวนั้นไม่มีการประกอบกับรอกใดๆ  เพราะไม่มีที่ยึดขารอก  reel seat  แม้แต่สายก็ยังคงใช้ผูกที่ปลายคันเบ็ด  โดยที่ทางคันเบ็ดนั้นจะทำห่วงมาให้หรือบางทีก็ทำมาเป็นสายสำเร็จที่ปลายคัน เลยก็มี
คันเบ็ดชิงหลิวนั้นจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อนำเอามาประกอบกับทุ่นชิงหลิว ซึ่งเป็นทุ่นที่ผลิตออกมาคู่กับคันเบ็ดโดยเฉพาะ

สายที่ใช้นั้นไม่ควรที่จะเป็นสายใหญ่จนเกินไป  สายที่เหมาะสมควรมีขนาดไม่เกิน  15  ปอนด์เป็นอย่างมาก





















โมดูลัคยิ่งมีค่าสูงเท่าไร  คันจะเบาและกระด้างจึงสามารถตีเหยื่อออกไปได้ดีมากขึ้น  แต่คันแบบนี้จะมีโอกาสแตกหักได้ง่ายกว่าคันที่มีค่าต่ำกว่าถ้าใช้งานเกินกำลัง  โดยมากจะเห็นในคันตีเหยื่อปลอมเป็นส่วนมากที่ผลิตคันที่มีค่าโมดูลัคสูงๆครับ

  บนคันเบ็ดบอกอะไรเรา

                            1.ความยาว เป็นฟุตหรือเป็นเซนติเมตร
                                 
                            2.  Power ครับ จะมี 9 ระดับ บอกความแข็งของคันเบ็ด
                                2.1 Ultra  Light          -UL
                                  2.2 Extra  Light          -ExL
                          2.3 Light                  -L
                                  2.4 Medium Light        -ML
                           2.5 Medium              -M
                                  2.6 Medium Heavy      -MH
                          2.7 Heavy                -H
                                  2.8 Extra Heavy        -ExH
                                  2.9 Ultra  Heavy        -UH
                               
                            3.  ACTION        บอกรูปแบบความโค้งของคัน 
                                                                    3.1 SLOW      จะโค้งทั้งคันแบบคัน FLY คันชิงหลิว
                                                                    3.2 Moderate  จุดเริ่มโค้งที่ครึ่งคันหรือ1/2 ของคันเบ็ด
                                                    3.3 Fast          จะเริ่มโค้งที่ 1/3 ของคันเบ็ด
                                                     3.4 Extra Fast  จะเริ่มโค้งที่ 1/4 ของคันเบ็ด
                           
                      4.  Line          บอกขนาดสายเอ็นที่แนะนำ
                                  
                 5.  weight      น้ำหนักเหยื่อที่เหมาะสม



ไกด์คันเบ็ด

ถ้าเราจะมาแบ่งไกด์ออกเป็นกลุ่มแล้วน่าจะได้ดังนี้ครับ(จะไม่ขอกล่าวถึงไกด์แบบลูกล้อนะครับ คันตีเหยื่อปลอมและคันตกปลาทั่วไปไม่นิยมใส่กัน)

            1.ไกด์ลวดจะใช้ในคัน Fly หน้าตาจะเป็นลวดดัดเป็นห่วงไกด์ จุดดีคือทนทานและเบาครับ  ส่วนจุดเสียคือการระบายความร้อนออกไปได้ช้ามากความร้อนที่สะสมจะเป็นตัวทำลายสายของเรา

            2.ไกด์โครงโลหะหุ้มด้วยโลหะ ไกด์จำพวกนี้พบเห็นได้จากคันเบ็ด6ฟุต ตระกูล Berkler, Fenwick ที่มีขายในบ้านเรา ทางโรงงานจะบอกว่าทำมาเพื่อความลื่น เบาและแข็งแรงขึ้น

            3.ไกด์ที่ทำจากดินเผา ไกด์แบบนี้ผู้คนจะคุ้นเคยมากที่สุด ไกด์แบบนี้ปัจจุบันจะสู้กันที่ คุณภาพเฟรมหรือโครงไกด์ พวกที่เราใช้กันโดยมากจะเป็นเหล็กปั้ม ชุบสีหรือโครเมี่ยม ชุบไฟฟ้าอื่นๆอีกมากมาย จุดประสงหลักคือไม่ให้สนิมถามหาก็เท่านั้น ส่วนไกด์ทีมีราคาแพงจะทำจะวัสดุที่ผสมขึ้นมาใหม่ๆ จะทำให้มีขนาดและน้ำหนักบางและเบา

            ในส่วนของวงแหวน(Ring) จะเป็นเซรามิกทั้งสิ้น แต่ส่วนผสมอาจแตกต่างไปตามความต้องการ แต่ส่วนผสมหลักก็เหมือนเดิม วงไกด์แบบนี้จะกรอบแตกง่าย ต้องอาศัยโครงไกด์ที่แข็งแกร่ง ล้อมรัดวงไกด์ไว้  ความคงทนแข็งแรงของผิวหน้าสัมผัสของวงไกด์ ที่คุยกันว่าสุดยอดๆๆนั้น ทางวิศวกรรมได้ทำกันมานานแล้ว เป็นการเคลือบผิววัตถุด้วยไฟฟ้า โดยใช้โลหะที่มีความแข็งแกร่งมาเคลือบวัสดุอื่น ที่มีราคาถูกกว่าเพื่อความแข็งแกร่งทนทานต่อการสัมผัส ถูไถ โดยจะมีการผสมเนื้อเซรามิกให้แกร่งและบางเบา แล้วนำมาเข้าขบวนการเคลือบผิวอีกครั้งหนึ่ง
            การปรับปรุงผิววิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรม คือ การเพิ่มปริมาณไนโตรเจนที่ผิวของชิ้นงาน สำหรับโลหะชนิดต่างๆเมื่อมีปริมาณไนโตรเจนที่ผิวเพิ่มขึ้น จะทำให้สมบัติต่างๆของโลหะเปลี่ยนแปลงไป ในกรณีของเหล็กซึ่งเป็นโลหะที่มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางเมื่อเพิ่มปริมาณไนโตรเจนในเหล็กก็จะทำให้เกิดสารประกอบของเหล็กกับไนโตรเจนเกิดเป็นเหล็กไนตรายด์ ส่งผลให้ความแข็งของผิวชิ้นงานเพิ่มขึ้นจากความแข็งประมาณ 700 HV ของเหล็กชุบแข็งไปเป็น 1000 HV หรือสูงกว่านั้นหลังจากเพิ่มปริมาณไนโตรเจน สำหรับอะลูมิเนียมก็สามารถเพิ่มความแข็งที่ผิวได้โดยอาศัยหลักการเพิ่มปริมาณไนโตรเจนที่ผิวเช่นกันแต่จะแตกต่างกันในแง่ที่ว่าสารประกอบที่เกิดขึ้น คือ สารประกอบอะลูมิเนียมไนตรายด์ที่มีความแข็งสูงมากกว่า 1200 HV เทียบกับอะลูมิเนียมที่ผ่านการบ่มแข็งจะมีความแข็งในระดับ 200-300 HV อีกตัวอย่างหนึ่งคือ โลหะไทเทเนียม สิ่งต่างๆเหล่านี้ช่วยให้ราคาในการผลิตถูกลงมากๆ    เมื่อทำแล้ววงไกด์จนทนทานมากขึ้นโดยไม่ต้องใช้วัสดุราคาแพงเหล่านั้นมาทำนั่นเอง

http://www.siamfishing.com/content/view.php?nid=131385&cat=article